วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ

      นับตั้งแต่ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา  การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศได้ขายตัวอย่างรวดเร็ว การเติบโตอย่างรวดเร็วนี้เป็นผลมาจากการค้าและการลงทุนอย่างเสรีในระบบทุนนิยมโลก การลดกำแพงภาษีอันเป็นผลมาจากการเจรจาค้าพหุภาคีรอบต่างๆ อีกส่วนในระบบทุนนิยมโลก การลดกำแพงภาษีอันเป็นผลมาจากการเจราการค้าพหุภาคีรอบต่างๆ อีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะความสำเร็จของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในเอเชียที่มีการเจริญเติบโตในอัตราสุง นอกจากนียังมีประเทศในยุโรปตะวันออกและรัศเซียที่มีการเจริญเติบโตในอัตราสูง นอกจากนี้ยังมีประเทศในยุโรปตะวันออกและรัสเซียที่เปิดประเทศเข้าร่วมในการค้านเวทีการค้าโลกจึงทำให้การค้าและากรลงทุนระหว่างประเทศขยายตัว ด้วยการลงทุนของบริษัทต่างชาติ และการระดมทุนของบริษัทขนาดใหญ่นี้ทำให้เกิดบรรษัทข้ามชาติ ขึ้นทั่วโลก ซึ่งเป็นที่มาของกระบวนการหมุนเวียนของเงินทุนระว่างประเทศ

สถานการณ์ปัจจุบันและปรากฏการณ์ที่สำคัญ

     ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมในโลกธุรกิจยุคโลกาภิวัตรนี้มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาโดยลักษณะของระบบ เศรษฐกิจแบบทุนนิยมนั้นได้เปิดโอกาศให้ภาคเอกชนมีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของทรัพย์สินสามารถดำเนินการผลิตและเคลื่อนย้ายเงินลงทุนได้อย่างเสรีภายใต้กฎเกณฑ์หรือข้อกำหนดทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ ทุกประเทศทั่วโลกทำการค้ากันอย่างเสรีและกว้างขวาง ก่อให้เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ การลงทุนต่างๆย่อมเป็นผลดีต่อระบบการค้ารวมของประเทศทั้งช่วยลดปัญหาความยากจนและปัญหาการว่างงานปัจจุบันการค้าระหว่างกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนามีมากยิ่งขึ้น เมื่อการค้าขยายตัวมากขึ้นย่อมหมายถึงโอกาสในการลงทุนมีสูงขึ้นเช่นกัน เงินทุนหมุนเวียนจึงถือเป็นสิ่งสำคัญอย่งยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม อีกทั้งความมั่นใจของนักลงทุนต่างชาตินั้นมีผลต่อความสัมพันธ์ทางด้านการลงทุนระหว่างประเทศ

การก้าวเข้าสู่ระบบทุนนิยมโลก

        การก้าวสู่ระบบทุนนิยมเริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 17  เป็นต้นมา ในอดีตอังกฤษพัฒนาระบบทุนนิยมการค้าก่อนประเทศใดในโลกและก้าวมาเป็นผู้นำ เมื่อประสบความสำเร็จในการปฏวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 โดยใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีพัฒนาเครื่องจักรกลโดยใช้พลังไอน้ำขับ เคลื่อนการทำงานเพื่อนำเครื่องจักรกลมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต ดังนั้นระบบทุนนิยมในอังกฤษที่เกิดขึ้นจึงเป็นทุนนิยมทั้งการผลิตภาค อุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมไปพร้อมกัน มีการใช้นโยบายเศรษฐกิจนิยมในการพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิกเห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าวภายใต้นโยบายการค้า เสรี ในระยะเวลานั้นไม่มีประเทศใดที่มีความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจเทียบทัน อย่างไรก็ตาาม รัฐบาลบางประเทศเริ่มรู้ทันและไม่ตกอยู่ภายใต้นโยบายการค้าเสรี เพราะตระหนักดีว่า หากยึดนโยบายการค้าเสรีจะไม่สามารถแข่งขันกับอังกฤษได้ เพราะอังกฤษยึดครองตลาดและแหล่งวัตถุดิบไว้เป็นจำนวนมาจากการล่าอาณานิคมของ อังกฤษมีผลให้แหล่งทรัพยากรของประเทศที่เป็นอาณานิคมจึงตกเป็นของอังกฤษด้วย การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 เกิดขึ้นทั่วยุโรปและเอเชียแล้ว การสะสมทุนของระบบทุนนิยมได้เติบโตขึ้นจนถึงถึงระดับขอการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่  2 ในช่วง ค.ศ. 1880 (พ.ศ. 2423) อันเนื่องมาจากการสะสมทุนที่เกิดจากผลกำไรและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี  รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรโลก

บทที่ 2 การก้าวสู่ระบบทุนนิยมโลกและการค้าเสรี

ระบบทุนนิยมคืออะไร
      ระบบทุนนิยม (Capitalism) เป็นระบบเศรษฐกิจที่เปิดโอกาสให้เอกชนมีเสรีภาพในการดำเนินการทางเศรษฐกิจว่าจะผลิดอะไร ผลิดเท่าใด ผลิตอย่างไรและผลิตเพื่อใคร โดยเอกชนจะมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและปัจจัยการผลิตต่างๆ รวมทั้งกรรมสิทธิ์ในสินค้าและบริการที่ผลิตได้

    ระบบทุนนิยมนี้รัฐบาลจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ถ้ามีก็มีน้อยที่สุดรัฐจะไม่แข่งขันกับเอกชนแต่เป็นผู้สนับสนุน  ทั้งนี้  กลไกของตลาดจะเป็นตัวกำหนด ราคา กำไรเป็นสิ่งจูงใจที่สำคัญของผู้ผลิต ราคและคุณภาพของสินค้าและบริการเป็นสิ่งจูงใจของ ผู้บริโภคก่อนตัดสินใจซื้อ เกิดการแข่งขันระหว่างกันอย่างเสรีในด้านคุณภาพ  ราคา และการให้บริการต่างๆ

  • การก้าวเข้าสู่ระบบทุนนิยมโลก 
  • สถานการณ์ปัจจุบันและปรากฏการณ์ที่สำคัญ
  • การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ
  • บรรษัทข้ามชาติ
  • การหมุนเวียนของเงินทุนระหว่างประเทศ
  • แหล่งที่มาของเงินลงทุน
  • ความเสี่ยงของเงินทุนหมุนเวียน
  • การเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน
  • ทฤษฎีการโจมตีค่าเงิน
  • อาชญากรรมฟอกเงิน
  • ผลกระทบจากการฟอกเงิน
  • วิกฤติเศรษฐกิจ
  • บทเรียนที่ประเทศไทยได้รับหลังวิกฤติเศรษฐกิจ
  • นโยบายการค้าและการลงทุนในโลกยุคใหม่ : ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
  • ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกต่อการพัฒนาประเทศไทย
  • การเตรียมความพร้อมของประเทศไทย
  • แนวทางการแก้ปัญหาและพัฒนาเพื่ออนาคตที่ดี
  • แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บทที่ 1 การเกิดโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงประชากร ในยุคโลกาภิวัตน์



ความหมายและพัฒนาการของโลกาภิวัตน์ (Globalization)


โลกาภิวัตน์ มาจากคาว่า Globalization ในหนังสือ The Third Wave เขียนโดย Alvin Toffler ซึ่งได้อธิบายการเปลี่ยนแปลงของสังคม 3 ยุค สังคมยุคก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์รวมตัวเป็นกลุ่มขนาดเล็ก ในลักษณะครอบครัวหรือเครือญาติ ดารงชีวิตโดยการเก็บของป่า ล่าสัตว์ ซึ่งจะอพยพย้ายถิ่นฐานไปเรื่อยๆ ตามความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ จนเมื่อ 10,000 ที่ผ่านมา มนุษย์เริ่มรู้จักการเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์หรือยุคเกษตรกรรม

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เหตุการณ์โลกร่วมสมัย

ศีกษาการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในด้านเศรฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรมของสังคมเมืองและชนบท การพัฒนาศักยภาพด้านการคิดวิเคราะห์ สร้างความตระหนักในคุณค่าของคนไทย สังคมไทย เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามโครงสร้างของสังคมไทยและความหลากหลายของวัฒนธรรมไทย รวมไปถึงการปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในสังคมไทย


เนื้อหา 

บทที่ 1 การเกิดโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงประชากร ในยุคโลกาภิวัตน์ 

บทที่ 2 การก้าวสู่ระบบทุนนิยมโลกและการค้าเสรี