การก้าวสู่ระบบทุนนิยมเริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา
ในอดีตอังกฤษพัฒนาระบบทุนนิยมการค้าก่อนประเทศใดในโลกและก้าวมาเป็นผู้นำ
เมื่อประสบความสำเร็จในการปฏวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1
โดยใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีพัฒนาเครื่องจักรกลโดยใช้พลังไอน้ำขับ
เคลื่อนการทำงานเพื่อนำเครื่องจักรกลมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต
ดังนั้นระบบทุนนิยมในอังกฤษที่เกิดขึ้นจึงเป็นทุนนิยมทั้งการผลิตภาค
อุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมไปพร้อมกัน
มีการใช้นโยบายเศรษฐกิจนิยมในการพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจ
ซึ่งเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิกเห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าวภายใต้นโยบายการค้า
เสรี ในระยะเวลานั้นไม่มีประเทศใดที่มีความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจเทียบทัน
อย่างไรก็ตาาม
รัฐบาลบางประเทศเริ่มรู้ทันและไม่ตกอยู่ภายใต้นโยบายการค้าเสรี
เพราะตระหนักดีว่า หากยึดนโยบายการค้าเสรีจะไม่สามารถแข่งขันกับอังกฤษได้
เพราะอังกฤษยึดครองตลาดและแหล่งวัตถุดิบไว้เป็นจำนวนมาจากการล่าอาณานิคมของ
อังกฤษมีผลให้แหล่งทรัพยากรของประเทศที่เป็นอาณานิคมจึงตกเป็นของอังกฤษด้วย
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 เกิดขึ้นทั่วยุโรปและเอเชียแล้ว
การสะสมทุนของระบบทุนนิยมได้เติบโตขึ้นจนถึงถึงระดับขอการปฏิวัติอุตสาหกรรม
ครั้งที่ 2 ในช่วง ค.ศ. 1880 (พ.ศ. 2423)
อันเนื่องมาจากการสะสมทุนที่เกิดจากผลกำไรและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรโลก
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 มีลักษณะเด่นหลายด้าน นับตั้งแต่การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ การนำพลังงานไฟฟ้า แก๊ส น้ำมันมาใช้ ก่อให้เกิดส่ิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เช่น โทรเลข โทรศัพท์ วิทยุ รถยนต์ เครื่องบิน เป็นต้น ในด้านเศรษฐกิจและการลงทุนมีสถาบันการเงินเข้ามาเกี่ยวข้องโดยเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของอุตสาหกรรมหนัก เช่น อุตสาหกรรมเคมี เครื่องจักรกล ส่งผลให้เกิดการระดมทุนสาธารณะของอุตสาหกรรมต่างๆ ในรูปของทรัสต์หรือทุนการเงินขนาดใหญ่ อันเป็นที่มาของบริษัทขนาดใหญ่ และพัฒนาเป็นบรรษัทข้ามชาติในปัจจุบัน
ความพ่ายแพ้ของลัทธิเผด็จการฟาสซิสม์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้เกิดการต่อสู้ของพลังสองกระแสที่ต่อต้านตะบบทุนนิยมแบบตลาดเสรีที่ไร้การควบคุม กล่าวคือระหว่างระบบทุนนิยมสำนักเคนส์ และระบบรัฐสังคมนิยม โดยแท้จริงแล้วกระบวนการทางเศรษฐกิจของสำนักเคนส์ เป็นการประรีประนอมด้านสังคมระหว่างชนชั้นที่แข่งขันกันโดยการจำกัดการทำงานของระบบตลาด แนวคิดนี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในหมู่ชนชั้นนำในโลกทั้งฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ในยุคหลังสงคราม ซึ่งอธิบายว่ามีความจำเป็นที่จะต้องสร้างฐานสังคมที่มั่นคงเพื่อยับยั้งกระแสปฏิวัติทางสังคมทั่วโลก
การขึ้นครองอำนาจของนายกรัฐมนตรีมากาเร็ต แธตเชอร์ ในประเทศอังกฤษและประธานาธิบดีโลนัลด์ เรแกน ในประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงทศวรรษ 1980 (พ.ศ. 2523) เป็นช่วที่เกิดกระบวนการปลดปล่อยระบบตลาดออกจากความผูกพันกับสังคม เป็นกระบวนการที่รู้จักกันในนาม "การปฏิรูปตามแนวเสรีนิยมหใหม่" ในประเทศโลกฝ่ายเหนือ และในนาม "การปรับโครงสร้าง" สำหรับประเทศโลกฝ่ายใต้ กระบวนการนี้ได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้้นในทศวรรษ 1990 (พ.ศ. 2533) เมื่อเกิดการล่มสลายของระบบรัฐสังคมนิยมในยุโรปตะวันออกและรัศเซีย สถาบันเดิมตั้งขึ้นภายใต้อิทธิพลจากเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ คือ สถาบันแห่งเบร็ตตันวูดส์ ได้แก่ ธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ถูกตั้งขึ้นเพื่อทลายระบบทุนนิยมที่อุดหนุนโดยรัฐ ซึ่งมุ่งปกป้องการค้าภายในของประเทศทางฝ่ายใต้และประเทศที่เคยอยู่ใต้อำนาจของสหภาพโซเวียตในยุโรปตะวันออก เพื่อจะสร้าง "สนามการค้าโลกที่มีความเท่าเทียมกัน" และเป็นสิ่งที่บรรษัทข้ามชาติในประเทศฝ่ายเหนือเรียกร้องและต้องให้เกิดขึ้น ดังนั้น การจัดตั้งองค์การ การค้าโลก (World Trade Organization) ในปี ค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538) คือกำเนิดของเสาหลักของระบบพหุภาคี และการเตรียมการในการปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจอย่างเร็วที่สุดให้เป็นระบบโลกที่แท้จริงที่ขับเครื่อนโดยบรรษัทข้าวชาติ โดยมีข้อจำกัดในการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ และเงินทุนอย่างคุ้มค่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น