วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554
บทที่ 1 การเกิดโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงประชากร ในยุคโลกาภิวัตน์
ความหมายและพัฒนาการของโลกาภิวัตน์ (Globalization)
โลกาภิวัตน์ มาจากคาว่า Globalization ในหนังสือ The Third Wave เขียนโดย Alvin Toffler ซึ่งได้อธิบายการเปลี่ยนแปลงของสังคม 3 ยุค สังคมยุคก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์รวมตัวเป็นกลุ่มขนาดเล็ก ในลักษณะครอบครัวหรือเครือญาติ ดารงชีวิตโดยการเก็บของป่า ล่าสัตว์ ซึ่งจะอพยพย้ายถิ่นฐานไปเรื่อยๆ ตามความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ จนเมื่อ 10,000 ที่ผ่านมา มนุษย์เริ่มรู้จักการเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์หรือยุคเกษตรกรรม
ยุคเกษตรกรรมจัดเป็นคลื่นลูกที่ 1 เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต มนุษย์ คือ มนุษย์มีความสามารถที่จะผลิตอาหารได้เป็นจานวนมาก จนกระทั่งตั้งถิ่นฐาน เกิดเป็นชุมชนขนาดใหญ่ และเริ่มมีการปกครองเพื่อความเป็นระเบียบ รวมถึงมีการประดิษฐ์คิดค้นศิลปะวิทยาการต่างๆ ซึ่งเป็นการวางรากฐานทางอารยธรรมของมนุษย์ในยุคต่อมา
มนุษย์สั่งสมความรู้ด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่องจนถึงคริสต์ศตรวรรษที่ 17 นักคิดยุโรปมีข้อสงสัย และพยายามค้นหาความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 จัดเป็นการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่คลื่น ลูกที่ 2
•ยุคอุตสาหกรรม จัดเป็นคลื่นลูกที่ 2 (ศตวรรษที่17 เริ่มที่ คศ.1760-1880) โดยการเปลี่ยนวิถีชีวิตการผลิต จากการใช้แรงงานคนและสัตว์ มาเป็นการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร รวมถึงยังมีการพัฒนาเครื่องมือเครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเรื่อยๆ จนนาไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรม และดาเนินมาเป็นระยะเวลา 300 ปี ก่อนมีการผลักดันให้เกิดคลื่นลูกที่ 3
ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดเป็นคลื่นลูกที่ 3 (ตั้งแต่คศ.1950-ปัจจุบัน) เกิดความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ มนุษย์ทุกมุมโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว รวมถึงระยะก็ไม่ใช่ข้อจากัดอีกต่อไป โดยมีการเรียกยุคนี้ว่า Globalization เป็นสภาวะ “ไร้พรมแดน” รวมถึงมีการส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทุกระดับตั้งแต่ละดับโลกจนถึงระดับครอบครัว ประเทศต่างๆ เชื่อมโยงกันมากขึ้น พึ่งพากันมากขึ้น
ปัจจัยที่ทาให้เกิดโลกาภิวัตน์ (Globalization)
แม้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีบทบาทสาคัญที่เชื่อมโยงทั่วโลกเข้าด้วยกัน จนเกิดสภาวะโลกาภิวัตน์อย่างสมบูรณ์ตอนปลาย คริสต์ศตวรรษที่ 20 แต่ปัจจัยที่ก่อให้เกิด โลกาภิวัตน์ไม่ได้จากัดเฉพาะความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีปัจจัยอื่น ที่มีบทบาทร่วมผลักดันให้โลกาภิวัตน์เกิดขึ้น และขยายตัวอย่างรวดเร็ว ประกอบด้วย
1. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งปัจจุบันรวมการสื่อสาร (Communication) และการขนส่ง (Transportation) โดยเรียกรวมกันว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการโทรคมนาคม (ICT) จัดเป็นปัจจัยหลักในการเชื่อมโยงประเทศต่างๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกัน จนมีสภาพเป็น สังคมโลก หรือ หมู่บ้านโลก
2. พัฒนาการของระบบทุนนิยม ขณะที่เทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมก็ขยายตัวด้วยเช่นกัน การผนวกกันระหว่างสองปัจจัยส่งผลให้ระบบทุนนิยมพัฒนาสู่การเป็น “ทุนนิยมไร้พรมแดน” หรือ “ทุนนิยมโลก” โดยเฉพาะเครือข่ายโทรคมนาคมที่โยงใยโลกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เรียกว่า Internet
ประกอบกับระบบเศรษฐกิจซับซ้อนมากขึ้น จนกระทั่งข้อมูลข่าวสารกลายเป็นสิ่งจาเป็นและมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ ทั้งทางเศรษฐกิจ และการเมือง ดังเห็นได้จากพลังข่าวสารสังคมปัจจุบันที่สามารถชี้ถูกชี้ผิด กาหนดทิศทางการเมืองและเศรษฐกิจ รวมทั้งสามารถปลุกปั่นกระแสความคลั่งไคล้หรือความเกลียดชังรุนแรงของมวลชนได้อย่างง่ายดาย
3. การล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ และการขยายตัวของอุดมการณ์เสรีประชาธิปไตย หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ความขัดแย้งทางอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างสหรัฐอเมริกาผู้นาฝ่ายโลกเสรี และสหภาพโซเวียตผู้นาฝ่ายคอมมิวนิสต์ ส่งผลให้โลกอยู่ในภาวะตึงเครียด
จนกระทั่ง คศ. 1980 สงครามเย็นสิ้นสุด จากการล่มสลายของการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ จากนั้นสหรัฐอเมริกากลายเป็นมหาอานาจเพียงผู้เดียว โดยการแสดงบทบาทผู้นาโดยการจัดระเบียบโลก โดยกาหนดให้ประเทศต่างๆ อยู่ในกรอบการเมืองระหว่างประเทศและกฎบัตรสหประชาชาติอย่างเคร่งครัด
ระเบียบโลกใหม่ของสหรัฐอเมริกาเน้นที่การเคารพสิทธิมนุษยชนการปกครองแบบประชาธิปไตย และการค้าเสรี สร้างบรรยากาศทางการเมืองเอื้อให้ประเทศต่างๆติดต่อถึงกันได้อย่างเสรี และสามารถพึ่งพาซึ่งกันและกันในด้านต่างๆ ประเทศทั่วโลกเกิดการผสมกลมกลืนจนมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม ในขณะที่อานาจอธิปไตย และความรู้สึกชาตินิยมจะลดน้อยลง
ลักษณะสาคัญของโลกาภิวัตน์
ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจัย 3 ประการที่เกิดขึ้นพร้อมกัน ได้แก่ พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ พัฒนาการของระบบทุนนิยม และการขยายตัวของอุดมการณ์เสรีประชาธิปไตย ผลักดันให้โลกเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ เมื่อนับถึงปัจจุบัน ดาเนินอย่างต่อเนื่องมากว่า 50 ปี โดยลักษณะที่สาคัญของสภาวะโลกาภิวัตน์ที่เกิดขึ้น คือ การเคลื่อนย้ายอย่างเสรี ของสิ่งต่างๆ ที่สาคัญจะมีอยู่ 4 ประการ ได้แก่
1. การเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของทุน ทั้งที่เป็นตัวเงินและปัจจัยการผลิตอื่นๆ ในด้านหนึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่อีกด้านหนึ่งอาจเป็นช่องทางในการแสวงหาผลประโยชน์ลักษณะต่างๆ เช่น การเก็งกาไรค่าเงิน ฯลฯ ซึ่งเป็นภัยต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หากแต่ละประเทศไม่มีการตรวจสอบและมาตรการควบคุมที่ดี
2. การเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของสินค้า และบริการ ในด้านหนึ่งจะเป็นโอกาสให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อหาของดีราคาถูกจากทุกมุมโลกที่วางขายในประเทศตน แต่อีกด้านหนึ่งถ้าปล่อยให้สินค้าและบริการจากต่างประเทศไหลเข้าประเทศตนโดยไม่มีข้อจากัดอาจมีผลต่อความอยู่รอดของธุรกิจในท้องถิ่น
3. การเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของข้อมูลข่าวสาร ความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์และเครือข่ายข้อมูลข่าวสารในระบบ Internet ส่งผลให้สามารถแสวงหาความรู้ที่มีอยู่รอบโลกได้อย่างไร้ขีดจากัด ส่งผลให้เกิดทั้งคุณและโทษ หากไม่ป้องกันที่ดีพอจะมีผลให้คุณธรรมจริยธรรมของคนในสังคมเสื่อมทรามลง
4. การเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของคน ความก้าวหน้าของการคมนาคมขนส่ง มีผลให้คนทั่วโลกเคลื่อนย้ายไปมาระหว่างกันอย่างเสรี โดยมีทั้งผลดีและผลเสีย ผลดี เพื่อการท่องเที่ยว การลงทุน ฯลฯ ผลเสีย การก่ออาชญากรรมข้ามชาติ การเป็นพาหะนาโรค ฯลฯ
ความคิดเห็นที่มีต่อโลกาภิวัตน์
มุมมองของคนในสังคมต่างๆ ที่มีต่อสภาวะโลกาภิวัตน์มีทั้งด้านบวกและด้านลบ ขึ้นอยู่ว่ามาจากมุมมองของผู้ที่เสียประโยชน์หรือได้ประโยชน์ ประเทศที่ได้ประโยชน์คือประเทศที่พัฒนาแล้ว จากดัชนีชี้วัดการพัฒนาเศรษฐกิจโดยเฉพาะค่าครองชีพ ซึ่งมีความแตกต่างระหว่างประเทศที่ร่ารวยกับประเทศที่ยากจน
หากจาแนกความเห็นของคนในสังคมปัจจุบันต่อกระแสโลกาภิวัตน์จาแนกได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มที่เห็นชอบต่อกระแสโลกาภิวัตน์ ได้แก่ ผู้ที่เห็นว่าโลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่ดีงาม สมควรวิ่งตามกระแสแต่อาจมีผลกระทบทางลบด้วยจึงสมควรชะลอความเร็วของการก้าวตากระแส
2. กลุ่มที่ต่อต้านกระแสโลกาภิวัตน์ ได้แก่
•ผู้ที่เห็นว่าโลกาภิวัตน์เป็นสภาวะที่ไม่เอื้อต่อพัฒนาการของมนุษย์
•ผู้ที่เห็นว่าโลกาภิวัตน์เอื้อประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองให้แก่ประเทศมหาอานาจโดยเฉพาะ
•ผู้ที่เห็นว่าโลกาภิวัตน์ก่อให้เกิดการครอบงาทางความคิดและวัฒนธรรม
3. กลุ่มเป็นกลางหรือกลุ่มคลุมเครือ ได้แก่ ผู้ที่ไม่สามารถมองเห็นผลกระทบจากโลกาภิวัตน์ได้ไม่ว่าจะเป็นทางบวกหรือทางลบก็ตาม จากมุมมองดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าโลกาภิวัตน์สามารถส่งผลกระทบได้ทั้งทางบวกและทางลบ โดยมุมมองที่ต่างกันเป็นผลมาจากคนแต่ละกลุ่มหรือแต่ละพื้นที่ได้รับผลกระทบจากโลกาภิวัตน์แตกต่างกัน ความรู้และความเข้าใจที่แจ่มชัดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆจะช่วยให้คนรู้เท่าทันและสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทั้งทางบวกและทางลบของกระแสโลกาภิวัตน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การเปลี่ยนแปลงทางประชากรในยุคโลกาภิวัตน์
การเปลี่ยนแปลงทางประชากร หมายถึง ภาวะประชากรที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การเปลี่ยนแปลงทางประชากรจะเป็นผลมาจากการเกิด และการตายของคนในโลก แต่หากพิจารณาในระดับภูมิภาค ทวีป หรือประเทศ จะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลมาจาก การเกิด การตาย และการย้ายถิ่นของคนแต่ละพื้นที่
โดยธรรมชาติ ภาวะประชากรจะเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยอาจเป็นไปอย่างช้าๆ หรือรวดเร็วตามแต่สถาณการณ์ของโลกในแต่ละช่วงเวลา เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางประชากรไม่ใช่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นโดยเอกเทศหากแต่เป็นทั้งสาเหตุและผลของปรากฏการณ์อื่นๆ อีกมากมายที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน การทาความเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันและเหตุการณ์สาคัญต่างๆ ที่เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ จึงครอบคลุมถึงการเปลี่ยนแปลงทางประชากรด้วย
การเปลี่ยนแปลงขนาดและโครงสร้างประชากร
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประชากรโลกมีจานวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยปรากฏการณ์นี้เรียกว่า “Baby Boom” หมายถึง การมีทารกเกิดใหม่มากกว่าปกติ นอกจากนี้ความกว้าวหน้าทางการแพทย์ส่งผลให้ทารกที่เกิดใหม่มีอัตราการอยู่รอดสูงขึ้น และผู้สูงอายุมีอายุยืนขึ้น
ในทศวรรษที่ 1950 จึงมีการดำเนินการลดอัตราการเพิ่มของประชากร โดยมาตรการที่ใช้ได้แก่ การส่งเสริมการคุมกำเนิด การรณรงค์ให้มีการวางแผนครอบครัว การให้ความรู้แก่เยาวชน และประชนทั่วไป จนมาถึงทศวรรษที่ 1960-1970 อัตราการเพิ่มของประชากรลดลง สาเหตุที่ลดลงไม่ได้มาจากมาตรการข้างต้นเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆประกอบ และปัจจัยที่สำคัญได้แก่
1.ผู้หญิงทั่วโลกมีการศึกษา และโอกาสในการทำงานมากขึ้น ทำให้แต่งงานช้าลง ขณะเดียวกันการทำงานนอกบ้านของผู้หญิงส่งผลให้ไม่สามารถเลี้ยงดูลูกได้อย่างเต็มที่
2.การเปลี่ยนแปลงจากยุคเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม ทำให้ไม่ต้องใช้แรงงานมากเหมือนแต่ก่อน
3.การเปลี่ยนแปลงสู่สังคมเมือง การดำเนินชีวิตในสังคม ถ้ามีลูกมากค่าใช้จ่ายก็สูงตามมา
4.พัฒนาการด้านการแพทย์และการสาธารณสุขทำให้การตายของทารกเกิดใหม่ลดลง จนไม่จำเป็นต้องมีลูกมากเผื่อตายเหมือนอดีต
จากปัจจัยดังกล่าวข้างต้น เป็นผลมาจากการพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมสู่ความทันสมัย ด้วยเหตุนี้ ประเทศที่มีระดับการพัฒนาก้าวหน้าหรือประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีอัตราการเพิ่มของประชากรลดลงอย่างรวดเร็วกว่าประเทศกำลังพัฒนา
สำหรับในทวีปแอฟริกา แม้จำนวนเด็กเกิดใหม่ยังสูงกว่าภูมิภาคอื่น แต่ผลจากโรคเอดส์ที่แพร่ระบาดอย่างหนัก กำลังทำให้ประชากรลดปริมาณลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรสู่ “สังคมคนชรา”
การเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากรที่กล่าวข้างต้น จะมีผลให้โครงสร้างของประชากรเปลี่ยนแปลงไปด้วย คือ
- ประชากรวัยเด็กที่เคยมีเป็นจำนวนมากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ลดลง
- ในปัจจุบันเด็กที่เกิดยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือยุค “Baby Boom” ได้เติบโตเป็นวัยแรงงาน และบางส่วนเข้าสู่วัยชรา
- อีกไม่นานประชากรวัยแรงงานจะเข้าสู่วัยชรา ประชากรเด็กน้อยลง อนาคตข้างหน้า แรงงานมีจำนวนน้อยต้องรับภาระเลี้ยงดูวัยชรา
สภาวการณ์ที่ประชากรวัยชราเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่วัยเด็กลดลงอย่างต่อเนื่อง จนกล่าวกันว่า สังคมโลกกำลังเคลื่อนเข้าสู่การเป็น “สังคมคนชรา” และจะนำมาซึ่งปัญหาต่างๆ อีกมากมายในอนาคต ดังนั้นหลายประเทศ กำลังเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สถานการณ์ดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การกำหนดนโยบายและมาตรการต่างๆ เพื่อรองรับการมีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น
ปัญหาที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชากร
1.ปัญหาความยากจน
2.ปัญหาการแพร่กระจายของโรคเอดส์
3.ปัญหาการไม่รู้หนังสือของเยาวชน
การดำเนินการในศตวรรษที่ 21 เพื่อแก้ไขปัญหา ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชากร
จากปัญหาต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชากรที่กล่าวมาข้างต้น การแก้ปัญหาจึงต้องดำเนินการไปพร้อมกันอย่างเป็นระบบ ด้วยเหตุนี้ ในวันประชากรโลก เมื่อ 11 กรกฎาคม 2547 รัฐบาล 179 ประเทศจึงประชุมร่วมกันเพื่อหาทางแก้ไข และยกระดับคุณภาพชีวิตประชากรเพื่อบรรลุเป้าหมาย 8 ประการ ได้แก่
1.ลดความยากจนของประชากรโลกให้น้อยลง
2.ลดการแพร่กระจายของโรคเอดส์
3.ส่งเสริมให้เยาวชนมีบทบาทในการพัฒนาประเทศและสร้างสรรค์โลกที่น่าอยู่สำหรับตนเองและคนรุ่นต่อไป
4.ส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศหญิงและเพศชาย โดยเพิ่มพลังอำนาจแก่สตรี
5.ส่งเสริมอนามัยเจริญพันธ์
6.เปิดโอกาสทางเศรษฐกิจและการมีส่วนร่วมทางการเมือง
7.ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
8.ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน
การเกิดโลกาภิวัตน์ยังส่งผลต่างๆ ตามมาอีกมากมายไม่ใช่เพียงแค่การเปลี่ยนแปลงเรื่องประชากรเท่านั้น ยังมีผลทั้งทางเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง สังคมวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ สันติภาพรวมทั้งแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะได้เรียนในบทต่อๆ ไป
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Las Vegas' Wynn Casino - JTM Hub
ตอบลบCasino. Wynn is a $4 billion resort https://sol.edu.kg/ with 바카라사이트 four hotel towers with 5,750 rooms and suites. Each of the hotel towers ventureberg.com/ includes a 20,000 square foot worrione.com casino and a 출장안마